Advertisement
ไวรัสอีโบล่า เชื้อมฤตยูกำลังระบาดหนักในทวีปแอฟริกาใต้
เชื่อว่าใครหลายคนที่ได้ยินข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องราวของ โรคอีโบล่า นั้น จะต้องผวาไปตาม ๆ กันทั่วโลก เพราะว่า โรคอีโบล่า นั้นได้กลายเป็นโรคที่โด่งดังมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นเชื้อไวรัสที่ยังไม่มียาในการรักษา เป็นแล้วก็ตาย แต่ว่าในบางคนก็ไม่ได้ตายเพราะว่าด้วยร่างกายที่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรง แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดปาฏิหารย์กับทุกคนเสมอไป
การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสอีโบล่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกิดที่ประเทศไทย รวมทั้งตอนนี้ก็ยังไม่มีการรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทย แต่ก็ถือว่าเราจะประมาทกันไม่ได้นะค่ะ เราจะพาคุณมารู้จักกับเชื้อ ไวรัสอีโบล่า นี้ให้มากขึ้นค่ะ
แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้ามหน้าและพัฒนาไปมาก แต่ก็ยังไม่มีวิธีใด ๆ ที่จะสามารถรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ไวรัสอีโบล่า ได้เลย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไวรัสอีโบล่า นี้จึงมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 90 เลยหละค่ะ
เชื้อไวรัส อีโบล่า นับว่าเป็นอีกหนึ่งเชื้อไวรัสที่มีความอันตรายที่สุดที่เกิดขึ้นโลกใบนี้ โดยชื่อของ อีโบล่า นั้น มาจากชื่อของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำขนาดเล็ก ประเทศซูดาน ในสาธารณรัฐประชาธิประไตยคองโก ทวีปแอฟริกาใต้สาฮารา ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่มีการค้นพบเชื้อมฤตยูชนิดนี้ โดยพาหะนำโรคก็คือ สัตว์จำพวกค้างคาวกินผลไม้ในแอฟริกา กอลีล่า ลิงชิมแปนซี ลิง สัตย์มีเขาเลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลแองจีโลฟ และเม่น
ไวรัสอีโบล่า ถูกแบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ
- แซร์อี
- ซูดาน
- ไวอรี่โคท
- เรสตอน
อาการของ โรคอีโบล่า
สามารถแพร่กระจายด้วยกันสัมผัสของเหลวจากร่างกายของผู้ป่วย เช่น เลือด น้ำลาย แผลหรือแม้กระทั้งเหงื่อและลมหายใจ โดยเชื้อจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-21 วัน จากนั้นเชื้อไวรัสที่เข้าไปในร่างกาย จะกระจายตัวไปเกาะตามเซลล์ต่าง ๆ จนทำให้เซลล์นั้น ๆ ถูกทำลาย และแสดงออกตามความเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก ที่ผู้ติดเชื้อจะเริ่มมีอาการไข้สูงขึ้น อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและมีอาการเจ็บคอ จากนั้นเมื่อเชื้อโรคแผลไปตามร่างกายมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยก็จะเริ่มมีอาการอาเจียน ท้องเสีย มีผื่นขึ้นตามลำตัว ระบบของการทำงานของตับและไตบกพร่อง นำไปสู่ภาวะเลือดไหลไม่หยุดทั้งภายในและภายนอกในร่างกาย จนเสียชีวิตในที่สุด
การป้องกันในเบื้องต้นของ เชื้อไวรัสอีโบล่า
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย แยกผู้ป่วย
- การกำจดศพอย่างรวดเร็ว
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย
- บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ชุดป้องกันเชื้อโรค
- ทำความสะอาดสิ่งของที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออีโบล่า
อย่างไรก็ดี การป้องกันไว้ก่อนก็เป็นเรื่องที่เรานั้นควรที่จะปฏิบัติกันนะค่ะ เพราะว่า โรคหรือว่า ไวรัสอีโบล่า นี้ ได้แพร่กระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็ว
Advertisement