Advertisement
โรคมือเท้าปาก
“มือเท้าปากเปื่อย” หลายคนให้ความสำคัญเลยที่เดียว ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ประเทศเพื่อนบ้านเองก็มีคนเสียชีวิตไปแล้ว ในประเทศไทยก็มีการแผลระบาดไปแล้ว และเฝ้าระวัง โดยเฉพาะพ่อแม่หลายคนก็คงกลัว และกังวลว่าบุตรหลานของตนเองมีโอกาสที่จะไปติดเชื้อนี้ อย่างลูกน้อยของคุณอยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก ก็เป็นที่น่ากังวลกับ โรคมือเท้าปากในเด็ก เช่นกัน
โรคมือเท้าปากในเด็ก ในโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นในหน้าฝน ย่างเข้าฤดูฝนจนถึงฤดูหนาวเลย เด็กก็จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อ เชื้อหวัด เชื้อไวรัสได้ง่ายมากเลย “อินโทรไวรัส 71” ไม่มียารักษาจำเพาะ ในประเทศไทยเองช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ระบาดได้เช่นเดียวกัน สายพันธ์ที่เรามักเจอกันบ่อย ๆ ที่ทำให้เกิดอาการตามเยื่อบุในช่องปาก มีแผลในปาก มีลักษณะตุ่มพองที่เท้า กลุ่มนี้มากจะเกิดจากไวรัส “คอกซักกี” ซึ่งมีหลายชนิด
เรื่องโอกาสแผลระบาดก็มีโอกาสเยอะมาก เพราะว่าส่วนหนึ่งจากการติดเชื่อโรคนี้เกิดจากน้ำมูก น้ำลาย เป็นหลัก มีการสัมผัส ในชีวิตประจำวันของคนเราอาจจะรู้สึกว่าเราเช็ดมือล้างมือแล้ว บางครั้งอาจจะไม่พอ เพราะว่าเราอาจจะเอามือไปจับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เราอาจจะเอามือไปเช็ดน้ำมูกน้ำลายให้ลูก เป็นต้น เชื้อก็จะไปอยู่ตามเครื่องมือเครื่องใช้ที่เราจับต่าง ๆ ก็จะติดกันได้ง่ายมากๆ ส่วนใหญ่ก็จะไปติดในวัยเด็กเล็ก ช่วงหลัง วัย 6 เดือน โอกาสที่จะพบเจอ โรคมือเท้าปาก ก็จะมีเยอะ ในบางรายทำให้เกิดอาการทางสมอง กล้ามเนื้ออักเสบและทำให้เด็กถึงกับเสียชีวิตได้
อาการของโรคมือเท้าปาก
- คนที่มีอาการจะเป็น โรคมือเท้าปากเปื่อย นั้น จะมีไข้ ตัวร้อน เพลียซึม กินได้น้อยลง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตตัวเด็กน้อย ว่าดูที่ในคอมีตุ่มมีรอยแผล มีลักษณะตุ่มพุพอง แผลพุพองในปาก ถ้าไม่แน่ใจดูด้วยตาไม่เห็น ถ้ามองไม่เห็นอาการ ไม่ชัดเจนก็ดูจากการกินนมได้น้อยลง มีน้ำลายไหล จะต้องระวังหรือไปพบคุณหมอ
- มีตุ่มที่มือที่เท้าเป็นเม็ดใส ๆ เล็ก ๆ อาจจะเห็นที่บริเวณหัวเข่า บริเวณที่ก้นได้ ตุ่มลักษณะนี้จะไม่มีอาการคัน
- ใน 2-3 วัน อาการจะเหมือนไข้หวัดธรรมดาโดยทั่วไป ไข้เหมือนกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก
- การที่เด็กอยู่ในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียน ที่มีสุขลักษณะอนามัยไม่สะอาด
วิธีการป้องกันและรักษาโรคมือเท้าปาก
- อันดับแรกเลยเรื่องของสุขลักษณะการใช้สิ่งของร่วมกัน ของเล่น ต้องทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
- การโดนน้ำมูก น้ำลาย เข้าห้องน้ำ ล้างมือทันที
- ก่อนการรับประทานอาหารก็ควรล้างมือ หลังการรับประทานอาหารก็ควรล้างมือ
- ถ้าเด็กไม่สบายควรพาเด็กไปพบคุณหมอ และหยุดไปโรงเรียนประมาณ 7 วัน เพราะอาจจะนำ โรคมือเท้าปากในเด็ก ไปติดเพื่อน ๆ ได้นะจ๊ะ
- หากเด็กมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ตามที่คุณหมอสั่ง หมั่นเช็ดตัวให้เด็ก เพื่อลดอุณหภูมิความร้อน
- ดื่มน้ำบ่อย ๆนะจ๊ะ
- หากพบเด็กป่วยในศูนย์เลี้ยงเด็ก ด้วย โรคมือเท้าปาก ควรแยกเด็กออกจากกลุ่ม ระวังสิ่งขับถ่าย ได้แก่อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำลาย
- แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขทราบ เพื่อเฝ้าระวังโรค ในสถนเลี้ยงเด็กและชุมชน
- ควรทำความสะอาดด้วยสารละลายเจือจาง ของน้ำยาฟอกขาว หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ในครัวเรือน
- ทำความสะอาดของเล่น ล้างหรือพึ่งแดดให้ทั่วถึง
- ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วม สถานที่รับประทานอาหาร สนามเด็กเล่น และสถานที่เด็กทำกิจกรรม
Advertisement